ภารกิจและอำนาจหน้าที่

ภารกิจและอำนาจหน้าที่ของเทศบาล


ภารกิจอำนาจหน้าที่ของเทศบาลตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๖ (และที่แก้ไขเพิ่มเติม) และตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ (และที่แก้ไขเพิ่มเติม) ดังต่อไปนี้

. ด้านโครงสร้างพื้นฐาน มีภารกิจที่เกี่ยวข้องดังนี้

(๑) การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบกทางน้ำ และทางระบายน้ำ (มาตรา ๑๖ (๒) มาตรา ๕๐ (๒)
(๒) การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่น ๆ (มาตรา ๑๖ (๔))
(๓) การสาธารณูปการ (มาตรา ๑๖ (๕))
(๔) การควบคุมอาคาร (มาตรา ๑๖ (๒๘))
(๕) การผังเมือง (มาตรา ๑๖ (๒๕))
(๖) ให้มีน้ำสะอาดหรือการประปา (มาตรา ๕๑ (๑))
(๗) ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น (มาตรา ๕๑ (๗))
(๘) การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร (มาตรา ๑๖ (๒๖))
(๙) การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ (มาตรา ๑๖(๓) (มาตรา ๕๑ (๓))

. ด้านส่งเสริมคุณภาพชีวิต มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

(๑) การจัดการศึกษา (มาตรา ๑๖ (๙) (มาตรา ๕๐ (๖) )
(๒) การส่งเสริมกีฬา (มาตรา ๑๖ (๑๔))
(๓) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล (มาตรา ๑๖ (๑๙)(มาตรา ๕๐ (๔))
(๔) การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส (มาตรา๑๖)
(๕) การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฆาตปนสถาน (มาตรา๑๖(๒๐) (มาตรา๕๑ (๔))
(๖) ให้มีและบำรุงสถานที่ทำการพิทักษ์รักษาคนเจ็บไข้ (มาตรา ๕๑ (๖))
(๗) การควบคุมการเลี้ยงสัตว์ (มาตรา ๑๖ (๒๑))
(๘) การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์ (มาตรา ๑๖ (๒๒))

. ด้านการจัดระเบียบชุมชน สังคม และการรักษาความสงบเรียบร้อยมีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

(๑) การักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน (มาตรา ๕๐ (๑))
(๒) การรักษาความปลอดภัย  ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัยโรงมหรสพและสาธารณสถานอื่น ๆ (มาตรา ๑๖ (๒๓))
(๓) การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัด และการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย (มาตรา๑๖ (๑๒))
(๔) การรักษาความสะอาด และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง (มาตรา ๑๖ (๑๗))
(๕) การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน (มาตรา ๑๖ (๓๐))
(๖) การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (มาตรา ๑๖ (๒๙))

. ด้านการวางแผน การส่งเสริมการลงทุน พาณิชกรรม และการท่องเที่ยว  มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

(๑) บำรุงและส่งเสริมการทำมาหากิจของราษฎร (มาตรา ๕๑ (๕))
(๒) การส่งเสริม การฝึก และการประกอบอาชีพ (มาตรา ๑๖ (๖))
(๓) การพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุน (มาตรา ๑๖ (๗) มาตรา ๕๑ (๙))
(๔) การส่งเสริมการท่องเที่ยว (มาตรา ๑๖ (๘))
(๕) การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง (มาตรา ๑๖ (๑))

. ด้านการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

(๑) การจัดการ การบำรุงรักษาและการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดินทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (มาตรา ๑๖ (๑๔))
(๒) การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ (มาตรา ๑๖ (๑๓))
(๓) การดูแลที่สาธารณะ (มาตรา ๑๖ (๒๗))
(๔) การกำจัดขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูลและน้ำเสีย (มาตรา ๑๖ (๑๘) มาตรา ๕๐ (๓))

. ด้านการศาสนา ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น  มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

(๑) บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนะธรรมอันดีของท้องถิ่น (มาตรา ๑๖ (๑๑) มาตรา ๕๐ (๘))

. ด้านการบริหารจัดการและสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  มีภารกิจที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

(๑) ให้มีเครื่องใช้ในการดับเพลิง (มาตรา ๕๐ (๕))
(๒) การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน(มาตรา ๑๖ (๑๕))
(๓) การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น (มาตรา ๑๖ (๑๖))

ภารกิจทั้ง ๗  ด้านตามที่กฎหมายกำหนดให้อำนาจเทศบาลดังกล่าวสามารถจะแก้ไขปัญหาของเทศบาลตำบลนกออก ได้โดยการจัดทำแผนพัฒนากำหนดแนวทางและวิธีการในการดำเนินงานแต่ละด้านให้เป็นไปตามความต้องการของประชาชนในเขตพื้นที่ให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาอำเภอฯ แผนพัฒนาจังหวัด นโยบายรัฐบาลและนโยบายของผู้บริหารเทศบาลเทศบาลตำบลนกออก วิเคราะห์แล้วพิจารณาเห็นว่าภารกิจหลักและภารกิจรองที่จะต้องดำเนินการ ได้แก่

ภารกิจหลัก
  และภารกิจรองที่เทศบาลจะดำเนินการ
ภารกิจหลัก
๑. การพัฒนาและปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยว
๒. การพัฒนาและส่งเสริมอาชีพ
๓. การรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน
๔. ให้มีและบำรุงทางบกและทางน้ำ
๕. รักษาความสะอาดของถนน หรือทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
๖. ป้องกันและระงับโรคติดต่อ
๗. ให้มีเครื่องใช้ในการดับเพลิง
๘. ให้ราษฎรได้รับการศึกษาอบรม
๙. ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
๑๐. บำรุงศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
๑๑. หน้าที่อื่นตามกฎหมายบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของเทศบาล

ภารกิจรอง
๑. ให้มีโรงฆ่าสัตว์
๒. บำรุงและส่งเสริมการทำมาหากินของราษฎร
๓. ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
๔. ให้มีและบำรุงทางระบายน้ำ
๕. ให้มีสุสาน และฌาปนสถาน
๖. ให้มีน้ำสะอาดหรือการประปา
๗. ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือและท่าข้าม
๘. ให้มีและบำรุงสถานที่ทำการพิทักษ์รักษาคนเจ็บไข้
๙. เทศพาณิชย์

 

อำนาจหน้าที่ของผู้บริหาร


  1. กำหนดนโยบายโดยไม่ขัดต่อกฏหมาย  และรับผิดชอบในการบริหารราชการของเทศบาลให้เป็นไปตามกฎหมาย  ระเบียบ  ข้อบังคับ  เทศบัญญัติ และนโยบาย
  2. สั่ง  อนุญาต  และอนุมัติเกี่ยวกับราชการของเทศบาล
  3. แต่งตั้งและถอดถอนรองนายกเทศมนตรี ที่ปรึกษานายกเทศมนตรี และ เลขานุการนายกเทศมนตรี
  4. วางระเบียบเพื่อให้งานของเทศบาลเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
  5. รักษาการให้เป็นไปตามเทศบัญญัติ
  6. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหมายบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติเทศบาล

 

อำนาจหน้าที่ของสภาเทศบาล


 ปกติสภาเทศบาลจะทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ โดยมีอำนาจหน้าที่ดังนี้

  1. อำนาจในการตราเทศบัญญัติ
    เทศบัญญัติ คือ กฎข้อบังคับของท้องถิ่น ซึ่งมีผลใช้บังคับได้เฉพาะในเขตเทศบาลนั้นๆ เท่านั้น โดยสภาเทศบาลเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ในการตราเทศบัญญัติโดยไม่ขัดหรือแย้งต่อตัวบทกฎหมาย ในกรณีต่อไปนี้
    1. เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามหน้าที่ของเทศบาลที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยเทศบาล
    2. เมื่อมีกฎหมายบัญญัติให้เทศบาลตราเทศบัญญัติ หรือให้อำนาจตราเทศบัญญัติเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายฉบับนั้นๆ
  2. อำนาจในการควบคุมฝ่ายบริหาร
                     สภาเทศบาลมีอำนาจในการควบคุมฝ่ายบริหารให้ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตาม ระเบียบแบบแผนและนโยบายที่กำหนดไว้ โดยมีมาตรการควบคุมที่สำคัญอย่างน้อย 2 ประการ

2.1 การตั้งกระทู้ถาม ( มาตรา 31 พ.ร.บ เทศบาล ฯ)
สมาชิกสภาเทศบาลมีสิทธิที่จะตั้งกระทู้ถามในข้อความใดๆ ที่เกี่ยวกับการงานในหน้าที่ได้  ถ้าหากสมาชิกสภาเกิดสงสัยหรือมีข้อข้องใจ เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของฝ่ายบริหาร  หรือเมื่อเล็งเห็นว่าการกระทำใดๆ ของฝ่ายบริหารอาจจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อท้องถิ่นหรือประชาชนในท้องถิ่น นั้น ทั้งนี้นายกเทศมนตรี จะต้องตอบกระทู้ถามให้สมาชิกสภาหายข้องใจ แต่ฝ่ายบริหารมีสิทธิที่จะไม่ตอบกระทู้ถามก็ได้ ถ้าเห็นว่ายังไม่สมควรตอบเพราะถ้าหากตอบไปแล้วจะเกิดความไม่ปลอดภัยหรือเสีย ประโยชน์ที่สำคัญของเทศบาล

2.2 การอนุมัติงบประมาณประจำปี
ก่อนที่จะมีการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในรอบปีต่อไป นายกเทศมนตรีจะต้องเสนอ งบประมาณประจำปีเพื่อขออนุมัติต่อสภาเทศบาลเสียก่อน และเมื่อสภาได้อนุมัติแล้ว จึงจะดำเนินกิจกรรมต่างๆ ได้ การที่กำหนดให้ต้องเสนอขออนุมัติงบประมาณก่อนนั้น เพื่อที่สภาเทศบาลซึ่งถือว่าเป็นตัวแทนของประชาชนในท้องถิ่นนั้น สามารถควบคุมการจัดหารายได้และการใช้จ่ายเงินของฝ่ายบริหารให้เป็นไปอย่างถูกต้อง และตรงกับความต้องการของท้องถิ่น และในกรณีที่สภาเทศบาลพิจารณาแล้ว ลงมติไม่รับหลักการแห่งร่างเทศบัญญัติงบประมาณประจำปีที่คณะเทศมนตรีเสนอแล้ว ไม่ว่าจะต้องเหตุผลใดก็ตามจะมีผลทำให้คณะเทศมนตรีชุดนั้นต้องพ้นจากตำแหน่ง ไป

  1. อำนาจในการแต่งตั้งคณะกรรมการสภาเทศบาล

เพื่อที่จะให้การดำเนินงานต่างๆ ของสภาเทศบาลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สภาเทศบาลมีอำนาจที่จะตั้งคณะกรรมการเพื่อให้ปฏิบัติภารกิจที่มอบหมายให้ทำ  ซึ่งคณะกรรมการที่สภาเทศบาลจะแต่งตั้งนี้สามารถจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
3.1 คณะกรรมการสามัญ คือ คณะกรรมการที่ประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาลซึ่งได้รับเลือกจากสภาเทศบาล  ไม่น้อยกว่า 3 คน  แต่ไม่เกิน 7 คน
3.2 คณะกรรมการวิสามัญ คือ คณะกรรมการที่ประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาลหรือบุคคลที่ไม่ได้เป็นสมาชิก  ไม่น้อยกว่า 3 คน  แต่ไม่เกิน 7 คน

คณะกรรมการสภาเทศบาล
1. คณะกรรมการตรวจรายงานการประชุม
2. คณะกรรมการแปรญัตติร่างข้อบัญญัติ
3. คณะกรรมการอื่นๆ ที่สภาท้องถิ่นเห็นสมควร
4. ภารกิจของเทศบาลที่กฎหมายกำหนดต้องได้รับการอนุมัติจากสภาเทศบาล
4.1. ตาม พ.ร.บ. เทศบาลฯ
4.1.1. สภาเทศบาลมีมติให้พ้นจากตำแหน่ง ของประธานสภาฯ  รองประธานสภา หากเห็นว่า ละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ , ปฏิบัติไม่ชอบด้วยกฎหมาย ,ประพฤติไม่ชอบ
4.1.2. การยินยอมให้ทำกิจการนอกเขต
4.1.3. การกู้เงินของเทศบาล
4.2. ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยวิธีการเบิกจ่ายเงินฯ
4.2.1. กรณีจำเป็นเร่งด่วน ยืมเงินสะสม
4.2.2. การกันเงิน ในกรณีรายจ่ายหมวดค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง ยังมิได้ก่อหนี้ผูกพัน
4.3. ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยวิธีการงบประมาณ ฯ
4.3.1. การโอนงบประมาณรายจ่ายในหมวดค่าครุภัณฑ์  ที่ดิน สิ่งก่อสร้าง
4.3.2. การแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำชี้แจงงบประมาณรายจ่ายในหมวดค่าครุภัณฑ์ ที่ดิน สิ่งก่อสร้าง

*ก่อนเข้ารับหน้าที่ สมาชิกสภาเทศบาลต้องปฏิญาณตนในที่ประชุมสภาเทศบาลว่า จะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ทั้งจะซื่อสัตย์สุจริตและปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์ของท้องถิ่น (มาตรา 17)
*สมาชิกสภาเทศบาลย่อมเป็นผู้แทนของปวงชนในเขตเทศบาลนั้น และต้องปฏิบัติหน้าที่ตามความเห็นของตนโดยบริสุทธิ์ใจ ไม่อยู่ในความผูกมัดแห่งอาณัติมอบหมายใด ๆ (มาตรา 18)
*สมาชิกสภาเทศบาลต้องไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมใน สัญญาที่เทศบาลนั้นเป็นคู่สัญญาหรือในกิจการที่กระทำให้แก่เทศบาลนั้นหรือ ที่เทศบาลนั้นจะกระทำ (มาตรา 18 ทวิ)