สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน

                    1 ที่ตั้งของหมู่บ้านหรือชุมชนหรือตำบล

           เทศบาลตำบลหนองยวง ตั้งอยู่เลขที่ 999 หมู่ที่  3  บ้านหนองยวง  ตำบลหนองยวง   อำเภอเวียงหนองล่อง   จังหวัดลำพูน   ห่างจากที่ว่าการอำเภอเวียงหนองล่อง  ระยะทาง 12  กม. และห่างจากศาลากลางจังหวัดลำพูน  45  กม.  มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้

 

          ทิศเหนือ          ติดต่อกับเขต     – เขต อบต.น้ำดิบ

          ทิศใต้               ติดต่อกับเขต     – เขต อบต. เหล่ายาว

          ทิศตะวันออก     ติดต่อกับเขต     – เขต อบต.น้ำดิบ

           ทิศตะวันตก       ติดต่อกับเขต     – เขตเทศบาลตำบลวังผาง

 

                    2   ลักษณะภูมิประเทศ

                         ลักษณะภูมิประเทศของเทศบาลตำบลหนองยวง  มีพื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม สภาพพื้นที่เหมาะสมแก่การทำการเกษตร ได้แก่ การปลูกข้าว  การปลูกพืชไร่และไม้ผล  รวมถึงการปลูกพืชล้มลุกต่าง ๆ ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นการเพาะปลูกลำไย เนื่องจากลำไยเป็นพืชเศรษฐกิจที่ทำรายได้ให้กับเกษตรกร โดยในพื้นที่ตำบลหนองยวงมีการปลูกลำไยเป็นส่วนใหญ่  เพราะสภาพพื้นที่มีความเหมาะสมต่อการปลูกพืชสวนมากที่สุด  ชุมชนแต่ละหมู่บ้านอยู่ในพื้นที่ราบมีลำห้วยและลำเหมืองซึ่งเป็นแหล่งน้ำใช้ในการทำการเกษตรไหลผ่านทุกหมู่บ้าน  ไม่มีพื้นที่รับน้ำจากชลประทาน

 

                    3 ลักษณะภูมิอากาศ

ลักษณะอากาศมีลักษณะร้อนชื่น อากาศเปลี่ยนแปลงไปตามฤดู  ซึ่งมี ๓ ฤดู ดังนี้

ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ไปจนถึงกลางเดือนพฤษภาคม  อากาศร้อนและแห้งแล้ง  แต่บางครั้งอาจมีอากาศเย็น บ้างครั้งเกิดพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงหรืออาจมีลูกเห็บตกก่อให้เกิดความ

 

                    4 ลักษณะของดิน

                         ลักษณะดินโดยทั่วไปเป็นดินเหนียว  ประมาณ  ๗๕% ดินลูกรังประมาณ ๑๕ % ลักษณะดินในพื้นที่เป็นดินปนทรายประมาณ ๑๐ % 

 

                   5 ลักษณะของแหล่งน้ำ

                   –  ลำห้วย                                                                  จำนวน         3     สาย

                   –  หนอง/บึง                                                               จำนวน         3    แห่ง

                   –  ฝาย                                                                       จำนวน           4    แห่ง

                   –  บ่อน้ำตื้น                                                                 จำนวน         46    แห่ง

                   –  บ่อน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรของเอกชน                      จำนวน       424    แห่ง

                   – บ่อน้ำบาดาล เพื่อการอุปโภค/บริโภค                          จำนวน         16     บ่อ

                   –  บ่อน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรที่ทางราชการเจาะให้        จำนวน         10    แห่ง

                   –  บ่อน้ำสำหรับอุปโภคบริโภค( ประปาหมู่บ้าน)               จำนวน         15    แห่ง

                   –  สระน้ำขนาดเล็ก                                                       จำนวน          42    แห่ง

                   –  สระน้ำขนาดใหญ่                                                      จำนวน            5    แห่ง

 

                    6. ลักษณะของไม้และป่าไม้     

                   – ป่าชุมชน                                        จำนวน  1        แห่ง